Exam Preparation for Midterm 2/60 เบื้องหลังการสอบเทอมนี้ [Part 2]

in #thai6 years ago

Hello, Steemians!
As I said in my very first blog that I have midterm exams last week, now I finished all my exams and want to write more blogs on Steemit.
This is part 2 of my story about Exam Preparation for Midterm 2/60.
If you want to read part 1, you can click here.

สวัสดีค่ะเพื่อนๆพี่ๆทุกคน วันนี้จะมาพูดถึงการสอบมิดเทอมต่อจากพาร์ทที่แล้วค่ะ
สามารถย้อนไปอ่านพาร์ทที่แล้วได้ที่นี่ ค่ะ
จากพาร์ทที่แล้วได้พูดถึง 4 วิชา ได้แก่ สถิติธุรกิจ, เทคนิคคณิตศาสตร์สำหรับการเงิน, ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน, การเขียนจดหมายภาษาอังกฤษธุรกิจ พาร์ทนี้ก็จะพูดถึงอีก 2 วิชาที่เหลือนะคะ ซึ่ง 2 วิชานี้เป็นวิชาที่ชอบมากเลยค่ะ นั่นก็คือ การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ และ เศรษฐศาสตร์และการเงินมหภาค

From part 1, I mentioned 4 subjects including Business Statistics, Mathematical Techniques for Finance, Financial Markets and Institutions, and Business English Correspondence.
Then, I will mention my 2 most favorite subjects. That is, Quantitative Business Analysis, and Macroeconomics and Macrofinance.

  • Macroeconomics and Macrofinance
    In this midterm exam, we must be able to explain about all concepts in every topics we have studied for 5 weeks :

วิชาแรกสำหรับวันนี้ค่ะ วิชาเศรษฐศาสตร์และการเงินมหภาค ในการสอบครั้งนี้ต้องรู้คอนเซปครอบคลุมทุกหัวข้อที่เรียนมา 5 สัปดาห์ (จริงๆเรียนไปแล้ว 7 สัปดาห์ค่ะ แต่หัวข้อ 2 สัปดาห์หลังเป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในอีกยุคหนึ่งแล้ว และส่วนมากจะเน้นคำนวณแล้วก็ใช้กราฟมากกว่าเนื้อหาส่วนนี้ จึงนำไปสอบรวมกับหัวข้อที่เหลือในไฟนอลแทน)

_20180311_140713.jpg

Week 1
Macroeconomics Goals; Saving & Investment Relations, Behavior of Interest Rates, Money Market, Bond Market, Liquidity Preference Framework, and Central Bank

หัวข้อที่เรียนไปในสัปดาห์ที่ 1 ได้แก่ เป้าหมายของเศรษศาสตร์มหภาค, ความสัมพันธ์ระหว่างการออมและการลงทุน, ลักษณะของอัตราดอกเบี้ย, ตลาดการเงิน, ตลาดตราสารหนี้, สภาพคล่อง และธนาคารกลาง

IMG_20180311_140642.jpg

Week 2
Good Market and Expenditures Multiplier
สัปดาห์ที่ 2 ได้เรียนเกี่ยวกับตลาดสินค้าและบริการ รวมถึง Expenditures Multiplier ซึ่งเป็นการคำนวณว่าหากตัวแปรต่างๆเปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกับเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างไร เช่น ถ้าหากเราได้รายได้หลังหักภาษีเพิ่ม 100 บาท จะส่งผลอย่างไร ซึ่งตามทฤษฏีแล้วจะต้องส่งผลกับเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า 100 บาท เนื่องจากต้องคำนึงถึงการหมุนเวียนของเงินด้วย

_20180311_140701.jpg

IMG_20180311_140617.jpg

Week 3
IS-LM Model, Monetary & Fiscal Policy in the IS-LM Model
Week 4
Aggregate Demand & Aggregate Supply Revisit, Monetary Transmission Mechanism
Week 5
Rational Expectations & Policy Implications

สัปดาห์ที่ 3-5 เรียนเกี่ยวกับโมเดลความสัมพันธ์ของตลาดสินค้าและบริการและตลาดเงินเพื่อหาจุดดุลยภาพของเศรษฐกิจ รวมถึงผลของการใช้นโยบายการคลังและนโยบายการเงินของภาครัฐที่ส่งผลกับการเปลี่ยนแปลงของดุลยภาพในตลาดสินค้าและบริการและตลาดเงิน นอกจากนี้ยังดูถึงความต้องการซื้อและความต้องการขายโดยรวมของเศรษฐกิจ

  • Quantitative Business Analysis
    In this midterm exam, it covers main topics including Linear Programming Formulation, Linear Programming Models: Graphical Method, Sensitivity Analysis, LP Software Application, Transportation Model, and Assignment Problem.

วิชาสุดท้าย วิชาการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจค่ะ เนื้อหาในการสอบครั้งนี้ครอบคลุมตั้งแต่การสร้างโมเดลสมการเส้นตรงแล้วนำมาแก้โดยการใช้กราฟและซอฟแวร์ การอ่านและแปรผลจากซอฟแวร์ การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาการขนส่ง การแก้ปัญหาการมอบหมายงาน

_20180311_141258.jpg

พูดถึงการสร้างสมการเส้นตรง หลายคนอาจจะคิดว่าแค่สมการเส้นตรงสองตัวแปรแบบที่เรียนตอนมัธยมหรือเปล่า ต้องง่ายแน่ๆเลย แต่เปล่าเลย จากข้อสอบที่ได้สอบไปแล้วเป็นโจทย์ที่ต้องสร้างโมเดลออกมา โดยนำข้อมูลที่ให้มามาสร้าง โจทย์ให้ข้อมูลการผลิตถังน้ำ วัตถุดิบที่ใช้ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการผลิต ค่าใช้จ่ายการจัดการสินค้าคงคลัง รวมถึงการจ้างงานคนงานมาให้สองหน้าครึ่งค่ะ รวมๆแล้วได้ทั้งหมด 18 ตัวแปรค่ะ

_20180311_141247.jpg

การแก้โมเดลสมการเส้นตรงที่ได้มามีสามวิธีค่ะ แต่เรียนแค่สองวิธี ได้แก่ การแก้ปัญหาด้วยกราฟ และการแก้ปัญหาด้วยซอฟแวร์ ส่วนวิธีที่ไม่ได้เรียนคือการแก้ปัญหาด้วยวิธีซิมเพล็กซ์
ในการแก้โมเดลถ้าโมเดลสมการเส้นตรงมีแค่สองตัวแปรก็จะสามารถหาคำตอบโดยการใช้กราฟได้

_20180311_141236.jpg

เมื่อได้คำตอบมาแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยดูการเปลี่ยนค่าแต่ละส่วนว่าส่งผลกับคำตอบอย่างไร ช่วงไหนที่ใช้ได้ ช่วงไหนที่ทำให้คำตอบเปลี่ยนแปลงไป

_20180311_141221.jpg

ต่อไปเป็นปัญหาการขนส่ง ทำเพื่อหาวิธีที่ทำให้ต้นทุนต่ำสุด คือหาว่าเราควรส่งของจากโรงงานใดไปหาลูกค้าคนใด ในปริมาณเท่าใดจึงจะดีที่สุด โดยในรูปเป็นการใช้วิธีแบบ VAM ซึ่งจะให้คำตอบที่ใกล้เคียงกับคำตอบที่ดีที่สุดมากกว่าวิธีอื่นๆ

_20180311_141135.jpg

Stepping Stone เป็นการนำคำตอบที่ได้จาก VAM มาตรวจสอบและปรับปรุงเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด

IMG_20180311_141119.jpg

สุดท้ายเป็นการแก้ปัญหาการแบบหมายงาน โดยมีข้อจำกัดว่าคนหนึ่งคนทำได้เพียงหนึ่งงานเท่านั้น

That's all for today! Thank you for your time. :)
ขอบคุณค่ะ แล้วพบกันใหม่ในบล็อกค่ะ :)

@first1st

Sort:  

Your Post Has Been Featured on @Resteemable!
Feature any Steemit post using resteemit.com!
How It Works:
1. Take Any Steemit URL
2. Erase https://
3. Type re
Get Featured Instantly � Featured Posts are voted every 2.4hrs
Join the Curation Team Here | Vote Resteemable for Witness

Hi first1st, good luck in your exams. That's a lot of info you had given on this blog. Upvoted!

Google Translate:
สวัสดีค่ะที่ first1st โชคดีในการสอบของคุณ นั่นเป็นข้อมูลที่คุณให้ไว้ในบล็อกนี้ upvoted!

Thank you :)

Coin Marketplace

STEEM 0.30
TRX 0.11
JST 0.033
BTC 63968.82
ETH 3136.80
USDT 1.00
SBD 4.28