Covid-19 will worsen inequality วิกฤติโควิด-19 ยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนมากยิ่งขึ้น

in #life4 years ago
สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการระบาดของโรคโควิด-19 คือไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กประเทศใหญ่มีความเจริญด้วยเทคโนโลยีนานาประการ หรือแม้กระทั่งคนรวย คนจน คนแก่ คนหนุ่มสาว การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระจายกันไปอย่างเสมอภาคทั่วทั้งโลก แต่ปลกระทบที่เกิดขึ้นตามมานั้นโดยเฉพาะก้านเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมระหว่างคนจนและคนรวยอย่างชัดเจน

Source: Photo by The Baltimore Sun


เรื่องนี้คงจะยกตัวอย่างที่สามารถมองเห็นภาพอย่างชัดเจนคือในกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสำนักข่าวใหญ่อย่าง CNBC ได้ทำการเปิดเผยข้อมูลของกลุ่มชนชาวอเมริกันเพื่อความเป็นธรรมทางภาษี และสถาบันเพื่อการศึกษานโยบายด้านความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่แสดงข้อมูลที่เห็นว่า ระหว่างช่วงวันที่ 18 มีนาคม – 19 พฤษภาคม หรือที่ช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 บรรดามหาเศรษฐีชาวอเมริกันมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาจำนวน 434,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาจำนวน 15 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 2 เดือน


มหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่ส้มหล่นได้รับอานิสงค์จากการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเช่น เจ้าของ Amazon ที่มีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นมากถึง 34,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยเสี่ยมาร์ค แห่ง Facebook ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมา 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนของข้อมูลจากกระทรวงแรงงานประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยข้อมูลว่า นับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม เป็นต้นว่า มีตัวเลขจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นเรื่องขอรับสวัสดิการช่วยเหลือการว่างงานมีจำนวนพุ่งสูงเป็นจำนวน 38.6 ล้านราย จำนวนผู้ที่ขอรับความช่วยเหลือสวัสดิการจากการว่างงานมีจำนวนมากกว่าตัวเลขการจ้างงานตำแหน่งงานใหม่ที่มีอัตราการจ้างเพียง 22.424 ล้านตำแหน่งงานรวมกันในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่รัฐบาลอเมริกันมีความพยายามเป็นอย่างหนักเพื่อสร้างตำแหน่งงานเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจที่ตกต่ำตั้งแต่ปี 2009

นอกจากนี้ตัวเลขคนว่างงานในอเมริกาเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงต้นเดือน พ.ค. ซึ่งก็เป็นช่วงที่ธุรกิจก้างร้านต่างๆ เริ่มมีการกลับมาเปิดธุรกิจตามเดิม นี่ก็แสดงให้เห็นว่าถึงจะกลับมาเปิดดำเนินการธุรกิจได้ แต่ธุรกิจเหล่านี้ก็ไม่รีบร้อนในการจ้างงานพนักงานใหม่ อาจจะเป็นเพราะว่ารอดูสถานการณ์ว่าจะเป็นเช่นไร สำหรับปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้


จากผลการศึกษาที่ผ่านมาขององค์กรการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้พบว่าทุกครั้งที่มีการเกิดโรคระบาด ไม่ว่าจะเป็น ซาร์ส (2003) ไข้หวัดนก (2009) เมอร์ส (2012) อีโบลา (2014) และซิกา (2016) จะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยยิ่งห่างกันมากขึ้น และแน่นอนว่าหลังจากวิกฤติของโรคโควิด-19 ก็จะเป็นเช่นนั้น

Steem: www.steemit.com/@andyjim


Sort:  

Before the COVID-19 outbreak, Thailand’s capital was the world’s most visited city. Now Bangkok’s once-bustling streets are quiet. With its struggling economy, the timing of the crisis could not be worse for Thailand. Exports have been falling since 2019 while the GDP growth rate remained one of the lowest in Southeast Asia since 2014. These trends will worsen in the coming months. The government predicts the economy will contract by 5.3 percent while the International Monetary Fund estimate is even worse, foreseeing a 6.7 percent drop in GDP. Either scenario would make Thai economy the worst affected in the ASEAN region.

To be sure, everyone in Thailand is being affected by the sudden economy-wide disruption — from big business houses like the Central group to petty traders and day laborers. But the hardest hit are thousands of tuk tuk drivers and street vendors in Bangkok, Chiang Mai, and Pattaya who are jobless following the shutdown of the country’s $60 billion tourism sector. The COVID-19 outbreak will only deepen inequality in Thai society.

Coin Marketplace

STEEM 0.16
TRX 0.15
JST 0.027
BTC 60256.67
ETH 2327.64
USDT 1.00
SBD 2.46